ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (Deep vein thromb  (อ่าน 44 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 291
  • เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน ลงประกาศฟรี
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (Deep vein thrombosis/DVT)

หลอดเลือดดำบริเวณแขนขา บางครั้งอาจเกิดลิ่มเลือด (blood clot หรือ thrombus) ขึ้นภายในหลอดเลือด ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งในหลอดเลือดดำส่วนผิว* และส่วนลึก

ที่สำคัญคือ การมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นที่หลอดเลือดดำส่วนที่อยู่ลึกในกล้ามเนื้อ (ส่วนใหญ่เกิดที่บริเวณขา ส่วนน้อยอาจเกิดที่บริเวณแขน) เรียกว่า ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงเนื่องจากลิ่มเลือดดังกล่าวหลุดลอยเข้าไปในปอด

ภาวะนี้มักพบในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่ายหรือไหลเวียนช้า ดังนั้นจึงพบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด อ้วน สูบบุหรี่ กินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอยู่นาน ๆ หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ

โรคนี้พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบมากในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ และมักเกิดกับผู้ที่เข้าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หรือได้รับการผ่าตัด

บางรายอาจเกิดภาวะนี้โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน

*การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำบริเวณผิว มักจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดร่วมด้วย เรียกว่า หลอดเลือดดำส่วนผิวอักเสบมีลิ่มเลือด (superficial thrombophlebitis) ภาวะนี้มีอันตรายน้อย และมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นลิ่มเลือดขนาดเล็ก และไม่หลุดลอยไปที่อื่น อาการที่พบ คือ หลอดเลือดดำที่มีลิ่มเลือดจะมีลักษณะคลำได้เป็นเส้นแข็ง ออกแดง ร้อน และเจ็บ ให้การรักษาตามอาการ ได้แก่ ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ประคบด้วยน้ำอุ่นจัด ๆ สวมใส่ถุงเท้าชนิดยืด หรือพันด้วยผ้าพันแผลชนิดยืด ยกเท้าสูงเวลานอนหรือนั่ง

สาเหตุ

ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือดที่บริเวณขา อาจมีสาเหตุหรือมีปัจจัยเสี่ยง เช่น

    การไม่ได้ลุกขึ้นเดินเป็นเวลานานเกิน 3 ชั่วโมงขึ้นไป เช่น นั่งรถหรือเครื่องบินระยะทางไกล
    การนอนพักฟื้นอยู่บนเตียงนาน ๆ เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด กระดูกหัก หรือเป็นโรคหัวใจ
    ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ผู้ป่วยแขนขาเป็นอัมพาต หัวใจวาย หรือ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
    ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งบางชนิดที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้ง่าย (เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่) หรือมีการใช้ยาเคมีบำบัด เช่น darbepoetin, epoetin, tamoxifen เป็นต้น
    ผู้หญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทนสำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
    หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดใหม่ ๆ (ไม่เกิน 6 สัปดาห์) ซึ่งจะทำให้มีแรงดันสูงในหลอดเลือดดำที่บริเวณเชิงกรานและขา
    ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือสูบบุหรี่
    ผู้ที่รูปร่างอ้วน
    การมีภาวะบาดเจ็บต่อหลอดเลือดดำ เช่น การผ่าตัดหลอดเลือด หรือฉีดสารระคายเคืองเข้าหลอดเลือด
    การมีความผิดปกติที่ทำให้เลือดจับเป็นลิ่มง่าย
    มีประวัติว่าพ่อแม่พี่น้องมีภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด หรือภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด

ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือดที่บริเวณแขน อาจมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง เช่น

    ที่พบได้บ่อย คือ เกิดจากการทำหัตถการที่กระทบต่อหลอดเลือดดำที่บริเวณแขน เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central venous catheter), การใส่ตัวคุมจังหวะหัวใจ (cardiac pacemaker) เป็นต้น
    การบาดเจ็บ เช่น กระดูกไหปลาร้าหรือกระดูกต้นแขนหัก กล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
    การเล่นกีฬาที่ออกแรงมาก ๆ (เช่น ว่ายน้ำ เล่นเทนนิส ยกน้ำหนัก มวยปล้ำ พายเรือ) ทำให้หลอดเลือดดำที่คอและไหล่ตีบ กระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำได้ มักพบในนักกีฬาอายุน้อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภาวะ Paget-Schroetter syndrome (PSS) หรือนักกีฬาที่แข็งแรงดีก็ได้
    นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยแบบเดียวกับภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือดที่บริเวณขา เช่น ผู้ที่เป็นมะเร็งหรือได้รับยาเคมีบำบัด การมีความผิดปกติที่ทำให้เลือดจับเป็นลิ่มง่าย หรือมีประวัติพ่อแม่พี่น้องมีภาวะเลือดจับเป็นลิ่มง่าย การสูบบุหรี่ การไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอยู่นาน ๆ เป็นต้น

อาการ

ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหน่วง ๆ ตึง ๆ หรือเจ็บปวดที่ขา (บริเวณน่องหรือต้นขา) หรือที่แขน ส่วนใหญ่เป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แขนหรือขาข้างที่ปวดมีอาการบวมร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อน

ที่สำคัญ ได้แก่ ลิ่มเลือดหลุดลอยเข้าสู่หัวใจและไปอุดตันในหลอดเลือดแดงปอด เรียกว่า ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้

ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือดที่บริเวณขา อาจเกิดภาวะเลือดไปเลี้ยงหลอดเลือดดำไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (chronic venous insufficiency) เนื่องจากหลอดเลือดดำขาถูกทำลาย เลือดคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำ ไม่อาจไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการปวดเท้า เท้าบวม

นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือดที่บริเวณขา หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจเกิดการทำลายหลอดเลือดดำหรือลิ้นเล็ก ๆ ในหลอดเลือดดำขา (ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลกลับลงเท้า) ทำให้เลือดไม่อาจไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ เลือดคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำ มีอาการปวดเท้า เท้าบวมเรื้อรัง ผิวหนังบริเวณข้อเท้าด้านในกลายเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นแผลง่าย หลอดเลือดขอดที่ขา เรียกว่า "ภาวะเลือดไปเลี้ยงหลอดเลือดดำไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (chronic venous insufficiency)" หรือ "กลุ่มอาการหลังเกิดลิ่มเลือด (post-thrombotic syndrome)"


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งมีสิ่งตรวจพบดังนี้

แขนหรือขาข้างที่ปวด มีลักษณะบวม มีสีแดงหรือคล้ำ กดถูกเจ็บ คลำดูรู้สึกร้อนกว่าปกติ บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ ชีพจรเต้นเร็ว

การตรวจโดยจับปลายเท้ากระดกขึ้น ทำให้รู้สึกเจ็บน่องมากขึ้น เรียกว่า อาการโฮแมน (Homan’s sign) ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจพิเศษ เช่น อัลตราซาวนด์ (duplex ultrasonography), ถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดดำด้วยการฉีดสารทึบรังสี (venography), ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า/เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดก็จะทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วยนอนพักและยกเท้าสูง 6 นิ้ว ให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม ได้แก่ เฮพาริน (heparin) ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แล้วให้กินยาเม็ดวาร์ฟาริน (warfarin) ต่อ ซึ่งอาจต้องกินนาน 3-6 เดือน ยานี้ทำให้เลือดออกได้ง่าย จำเป็นต้องตรวจเลือดดู clotting time แล้วปรับขนาดยาให้เหมาะสม

การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การพันด้วยผ้าพันแผลชนิดยืด หรือการสวมใส่ถุงน่องชนิดยืด (elastic stocking) เพื่อแก้ไขอาการบวมและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ในรายที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ อาจต้องฉีดยาละลายลิ่มเลือด (เช่น streptokinase หรือ tPA) เข้าทางหลอดเลือดดำ หรือทำการผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก

กรณีที่ไม่สามารถใช้สารกันเลือดเป็นลิ่ม แพทย์อาจสอดใส่ "ตัวกรอง (filter)" ไว้ในท่อเลือดดำส่วนล่าง (inferior vena cava) เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดลอยเข้าปอด

ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักหายเป็นปกติและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน บางรายอาจมีอาการกำเริบซ้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นที่แขน

การใส่ตัวกรองป้องกันสิ่งหลุดเข้าหัวใจกระจายไปที่ปอด

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการปวดหน่วง ๆ ตึง ๆ หรือเจ็บบริเวณขาหรือแขนข้างหนึ่ง หรือมีอาการบวมที่ข้อเท้า เท้า ต้นขา หรือแขนข้างหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือด ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    ดูแลรักษา กินยา ปฏิบัติตัว และติดตามการรักษาตามที่แพทย์แนะนำ
    ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผล
    หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง เพราะอาจมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาที่แพทย์ใช้รักษาอยู่

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีเลือดออก หรือมีจ้ำเขียวหรือรอยห้อเลือดที่ผิวหนัง
    มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ใจหวิวใจสั่น หรือลุกนั่งมีอาการหน้ามืดจะเป็นลม
    ขาดยาหรือยาหาย
    มีอาการที่สงสัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือแพ้ยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ


การป้องกัน

1.  ถ้าน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรลดน้ำหนัก

2.  ไม่สุบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จัด

3.  หมั่นออกกำลังกาย

4.  หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ ควรลุกขึ้นเดินทุก ๆ ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง

5.  ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร (ประมาณ 6-8 แก้ว) อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

6.  หมั่นตรวจเช็กสุขภาพ และถ้ามีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง) ควรดูแลรักษาอย่างจริงจัง

7.  สำหรับผู้ที่นั่งรถหรือเครื่องบิน ควรป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ โดยการปฏิบัติดังนี้

    ถ้านั่งเครื่องบินหรือรถไฟ ควรลุกขึ้นเดินในห้องโดยสารทุก ๆ ชั่วโมง ถ้านั่งรถ ทุก ๆ ชั่วโมงควรหยุดรถ และเดินไปมารอบรถสักครู่
    ขณะนั่งอยู่กับที่ หมั่นบริหารขาโดยการงอ-เหยียดข้อเท้าขึ้นลงเป็นครั้งคราว คราวละ 10 ครั้ง และควรบริหารขาให้บ่อยขึ้นในกรณีที่ไม่สามารถลุกขึ้นเดินในห้องผู้โดยสารหรือหยุดรถที่ขับได้ทุกชั่วโมง
    หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหรือเข็มขัดรัดเอว
    ดื่มน้ำมาก ๆ  และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ

8. ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต คนอ้วน ผู้หญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทน ควรมีการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย (เช่น เดิน) อยู่บ่อย ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ (อย่าให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หมั่นบริหารขาโดยการงอ-เหยียดข้อเท้าขึ้นลง

9.  สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยมีภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือดมาก่อน มีภาวะเลือดจับเป็นลิ่มง่าย ผู้ที่ต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ผู้ป่วยโรคหัวใจหรืออัมพาต เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องรับการผ่าตัดหรือเข้าพักรักษาตัว (นอนบนเตียง) ในโรงพยาบาลนาน ๆ ให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างจริงจัง ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้สารกันเลือดจับเป็นลิ่มป้องกัน

ข้อแนะนำ

1. ผู้ป่วยที่รับสารกันเลือดเป็นลิ่ม อาจมีเลือดออกได้ง่าย ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผล และถ้ามีอาการเลือดออก (เช่น จ้ำเขียวหรือรอยห้อเลือดตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหลมาก ไอ อาเจียน หรือถ่ายปัสสาวะ/อุจจาระเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ) ควรรีบไปโรงพยาบาล

2. อาการแขนหรือขาบวมข้างหนึ่ง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ที่สำคัญคือ ทางเดินน้ำเหลืองอุดกั้น ซึ่งอาจเกิดจากมะเร็ง ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสี การติดเชื้อ (เช่น โรคเท้าช้าง) สาเหตุเหล่านี้มักไม่มีอาการเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม เมื่อพบอาการแขนหรือขาบวมข้างหนึ่งก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

3. โดยปกติ ลิ่มเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดดำไม่สามารถหลุดลอยไปอุดตันในหลอดเลือดสมอง (จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นลิ่มเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดง) อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าในรายที่มีผนังหัวใจรั่วโดยกำเนิด (patent foramen ovale) อยู่ก่อน ลิ่มเลือดอาจหลุดเข้าไปในระบบหลอดเลือดแดง ลอยไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ได้ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยสำหรับภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด


 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า