ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไตเสี่ยงทุกวัย เป็นได้ทุกคน ป้องกันดีกว่ารักษา  (อ่าน 18 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 493
  • เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน ลงประกาศฟรี
    • ดูรายละเอียด
โรคไตเสี่ยงทุกวัย เป็นได้ทุกคน ป้องกันดีกว่ารักษา

โรคไตสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อไต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่วในไตและระบบทางเดินปัสสาวะ โรคอ้วน เป็นต้น รวมทั้ง มีพฤติกรรมทานอาหารเค็มจัด หวานจัด มันจัด ทานยาหรือสมุนไพรที่ทำลายไตเป็นประจำ ซึ่งหากละเลยอาจส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และดำเนินโรคจนถึงระยะรุนแรงจนต้องรับการฟอกไตไปตลอดชีวิต ดังนั้นการป้องกันโรคไตจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ไต คืออะไร

ไต เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่ว ขนาดประมาณกำปั้นมือ หรือประมาณ 9-11 ซม. มี 2 ข้าง อยู่บริเวณใต้ชายโครงด้านหลัง ทำหน้าที่หลักคือ กรองน้ำและของเสียที่ไม่มีประโยชน์ เช่นสารพิษและยาส่วนเกิน ออกจากร่างกายโดยขับออกมาในรูปปัสสาวะ, ดูดซึม กักเก็บสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย, รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกายตลอดจนควบคุมความเป็นกรด-ด่างในเลือด, ควบคุมความดันโลหิต และยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย


รู้จักโรคไตเรื้อรัง

โรคไตคือภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ มีหลายชื่อเรียก เช่น ไตวาย ไตเสื่อม ไตทำงานลดลง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ โรคไตเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury/ Acute Kidney disease) ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ และ โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป รักษาไม่หายขาดและอาจดำเนินโรคต่อเนื่องจนเข้าสู่โรคไตเรื้องรังระยะสุดท้าย

ข้อมูลล่าสุดในประเทศไทย พบว่ามีความชุกของโรคไตเรื้อรัง เท่ากับ 17.5 %ของประชากร และสาเหตุของโรคไตเรื้อรังเกิดจาก โรคความดันโลหิตสูง (Hypertensive nephrosclerosis) มากที่สุด รองลงมาเกิดจากโรคเบาหวาน (Diabetic kidney disease) โดย 2 สาเหตุนี้คิดเป็นสัดส่วนราว 80 %ของสาเหตุทั้งหมด สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคไตอักเสบเรื้อรังชนิดต่างๆ (Chronic glomerulonephritis), ภาวะอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ (Obstructive nephropathy) เป็นต้น ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดโรคไตทั้งสองข้างพร้อมกัน ยกเว้นภาวะอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดข้างใดข้างหนึ่ง หรือสองข้างพร้อมกันก็ได้


วินิจฉัยโรคไตเรื้อรังอย่างไร

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หมายถึง ผู้ป่วยที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้

1. มีภาวะไตผิดปกตินานติดต่อกันเกิน 3 เดือน เช่น ตรวจพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เม็ดเลือดแดงรั่วในปัสสาวะ ตรวจเลือดเจอความผิดกติของเกลือแร่ที่เกิดจากท่อไตผิดปกติ พบนิ่ว ถุงน้ำ หรือมวลไตเล็กผิดปกติจากการตรวจรังสีวิทยาตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิสภาพจากการตรวจชิ้นเนื้อไต เป็นต้น โดยอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate; eGFR) อาจผิดปกติหรือไม่ก็ได้

โดยกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยวัดจากอัตราการกรองของไต (eGFR หน่วย mL/min/1.73m2) ดังนี้

    ระยะที่ 1 ค่า eGFR > 90 (ปกติ)
    ระยะที่ 2 ค่า eGFR 60-89 (ถือว่าลดลงเล็กน้อย)
    ระยะที่ 3 ค่า eGFR 30-59 ( ถือว่าลดลงปานกลาง)
    ระยะที่ 4 ค่า eGFR 15-29 (ถือว่าลดลงมาก)
    ระยะที่ 5 ค่า eGFR < 15 (ถือเป็นไตวายระยะสุดท้าย)

2. มี GFR น้อยกว่า 60 mL/min/1.73m2 ติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยอาจตรวจพบหรือไม่พบว่ามี ภาวะไตผิดปกติก็ได้ ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด เมื่ออาการโรคไตยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ค่าการทำงานของไต GFR ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง

    อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
    โรคที่มีผลกระทบกับไต เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน โรคเก๊าท์หรือระดับกรดยูริกในเลือดสูง โรคแพ้ภูมิตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง ส่งผลให้การทำงานของไตเสื่อมลง
    ได้รับยาในกลุ่มยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือสารพิษที่ทำลายไต (Nephrotoxic agents)
    มีมวลเนื้อไตลดลง หรือมีไตข้างเดียว
    โรคติดเชื้อทางเดินระบบปัสสาวะส่วนบนช้ำหลายครั้ง
    ตรวจพบนิ่วในไตหรือระบบทางเดินปัสสาวะ หรือตรวจพบถุงน้ำในไตมากกว่า 3 ตำแหน่งขึ้นไป
    มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือ มีประวัติการเป็นโรคไตอักเสบ หรือถุงน้ำในไต


อาการของโรคไตเรื้อรัง

    เปลือกตา ใบหน้าบวม เท้าและขาบวม กดบุ๋ม เกิดจากการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หรือจากโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะส่งผลให้ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ อาการบวมน้ำนี้อาจเกิดร่วมกับปริมาณปัสสาวะที่ลดลงหรือไม่ก็ได้
    ปัสสาวะมีสีเลือดปน และ/หรือมีฟองมากผิดปกติ
    ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
    มีอาการปวดบั้นเอวหรือบริเวณสีข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่กลางหลัง) อาจเกิดจากนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
    ตรวจพบความดันโลหิตสูง
    คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซึม สับสน คันตามตัว เกิดจากของเสียคั่ง (มักพบระยะท้ายของโรค)
    ซีด (โลหิตจาง) ทำให้อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เกิดจากขาดฮอร์โมนจากไตที่ใช้ในกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (มักพบระยะท้ายของโรค)


การตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง

โรคไตสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย หากไม่ได้รับการตรวจ การสืบค้นหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรังและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคตามมาได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคไตจะช่วยวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังได้ในระยะแรก เพื่อจะได้หาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป เมื่อสงสัยว่าตัวเองจะมีความเสี่ยงเป็นโรคไตหรืออาการที่อาจเป็นโรคไต ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองก่อน ได้แก่

    ตรวจปัสสาวะดูว่ามี โปรตีนหรือเม็ดเลือดแดงรั่วออกมาในปัสสาวะหรือไม่
    ตรวจเลือดดูอัตราการกรองไต GFR (การทำงานของไต) ดูความผิดปกติของเกลือแร่
    การตรวจอัลตราซาวด์ หากมีความผิดปกติอาจต้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อ หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคไตเรื้อรังจะทำการตรวจเพิ่มเติมแบบละเอียดเพื่อหาสาเหตุของโรคต่อไป


การรักษาโรคไตเรื้อรัง

การรักษาโรคไตเรื้อรังขึ้นกับสาเหตุของโรคไตเรื้อรังนั้นๆ โรคร่วมที่มีอยู่ และระยะของโรคที่เป็น

    การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ได้แก่
        ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น คุมระดับน้ำตาล คุมระดับความดันโลหิต คุมระดับไขมันให้ปกติ
        จำกัดปริมาณเกลือโซเดียม และโปรตีนที่รับประทานต่อวัน แต่ต้องได้พลังงานโดยรวมจากอาหารเพียงพอ
        การใช้ยาเพื่อลดปริมาณโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
        การปฏิบัติตัวเช่น เลิกสูบบุหรี่ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการทานยาที่มีผลเสียต่อไต ทานน้ำสะอาดอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน (ยกเว้นมีอาการบวมน้ำแล้วอาจต้องลดปริมาณลง)
    รักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ได้แก่
        ภาวะเลือดจาง โดยให้ยาธาตุเหล็ก ยาฉีดกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
        ภาวะบวมน้ำ โดยการลดเค็ม คุมน้ำ ยาขับปัสสาวะ
        ภาวะเกลือแร่โปแตสเซียมสูง โดยคุมอาหารและ ยาขับโปแตสเซียม
        ภาวะเลือดเป็นกรด โดยลดปริมาณโปรตีนที่ทาน ยาปรับสมดุลกรดด่าง
        ภาวะแคลเซียม/ฟอสเฟตผิดปกติ ขาดวิตามินดี ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โดยคุมอาหาร ให้ยาคุม
    การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต เพื่อทดแทนไตที่ทำงานได้น้อยมากในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ได้แก่ การปลูกถ่ายไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตผ่านทางช่องท้อง


โรคไตเรื้อรังป้องกันไว้ดีกว่ารักษา

การป้องกันที่ดีที่สุดคือการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตโดยตรงเอง และต่อการเกิดโรคที่จะเป็นสาเหตุของโรคไตในอนาคต

    ผู้มีความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเหลี่ยงอาหารรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูง หวานจัด มันจัด
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
    ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรควบคุมอาการของโรค และเข้ารับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    หลีกเลี่ยงการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น กลุ่มยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs ยาชุด สมุนไพร เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา

    ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังมักไม่รู้ตัวหากไม่ได้รับการตรวจ เนื่องจากไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมา เมื่อโรคดำเนินรุนแรงขึ้นอาการจึงค่อยๆ เริ่มแสดงออกมา แต่มักเป็นอาการไม่จำเพาะซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่นทั่วไป หรืออาจแฝงมากับโรคของระบบอวัยวะอื่นๆ จะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเลือด หรือ ตรวจปัสสาวะ ดังนั้นการหมั่นคอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นและรีบพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจะช่วยให้วินิจฉัยได้เร็วขึ้นเพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป และยังถือเป็นการเฝ้าระวังก่อนการเกิดโรคที่ดีด้วย


 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า