จัดฟันบางนา: ภายหลังจากฝังรากฟันเทียม รับประทานอาหารทะเลได้หรือไม่หลายคนชื่นชอบอาหารทะเลมาก แต่ถ้าหากรับประทานมากเกินไป ก็อาจจส่งผลต่อร่างกายได้ เช่น มีไขมันในเลือดสูง หรือภาวะคอเลสเตอรอลสูง อาจจะทำให้มีเกิดเจ็บป่วยได้ เพราะในอาหารทะเลส่วนใหญ่ มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของไขมันอิ่มตัวในเนื้อวัวเสียอีก แถมไขมันไม่อิ่มตัวที่โดดเด่นมากในอาหารทะเล คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคร้ายอีกหลายชนิด
ซึ่งโอเมก้า 3 นี้พบได้น้อยมากในเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่นเดียวกันกับผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ในระยะแรก หลังจากการผ่าตัดก็ควรงดรับประทานอาหารทะเล นอกจากควรรับประทานอาหารที่อ่อนแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลด้วย เพราะอาจจะทำให้แผลหายช้า ซึ่งหากบาดแผลมีการหายได้ช้า อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อื่นๆตามมา เช่นการทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือทำให้เกิดอาการบวมแดงของบาดแผลได้
ทั้งนี้ นอกจากอาหารทะเลแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ไม่ควรรับประทานอาหารที่ร้อนจัดๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม ซุป หรือก๋วยเตี๋ยว ควรกินในขณะที่มีอุณหภูมิกำลังอุ่นๆพอดี หากรับประทานทั้งๆที่ร้อนจัด อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรืออักเสบในบริเวณที่ฝังรากฟันเทียมได้ รวมไปถึงอาหารแข็งๆ อย่างเช่น น้ำแข็ง กระดูก หรืออะไรก็ตามที่ต้องออกแรงกัดมาก เพราะอาจทำให้รากฟันเทียมเกิดการกระทบกระเทือน หรืออาจจะทำให้ซี่ฟันปลอมแตก ร้าวได้ จนไปถึงขั้นรุนแรงคือ รากฟันเทียมเกิดหลุดนั่นเอง และที่สำคัญเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท
ผู้เข้ารับการรักษาก็ควรงดในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด เพราะแอลกอฮอล์จะไปขัดขวางการแข็งตัวของเลือดบริเวณที่ผ่าตัด ทำให้แผลหาย หรือเกิดการอับเสบ บวมแดงได้ เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปมีความสำคัญต่อการหายของบาดแผลทั้งภายในและภายนอก โดยทำให้เนื้อเยื่อสมานติดกันทำให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้เข้ารับการรักษาควรเลือกอาหารที่ช่วย ที่มีฤทธิ์ทำให้แผลหายเร็วขึ้นและลดอาการบวมหรืออักเสบด้วย
ผู้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินให้เพียงพอ เช่นวิตามินซี เอ ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก ที่มีส่วนช่วยทำให้บาดแผลหายเร็ว วิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อโปรตีนสำคัญที่ใช้สร้างผิวหนัง รักษาบาดแผล วิตามินซีพบมากในผลไม้พวก ฝรั่ง ลิ้นจี่ มะละกอ ส้ม วิตามินเอ มีส่วนช่วยกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อ หากขาดจะทำให้แผลติดเชื้อ แผลหายช้า แหล่งวิตามินเอ ได้แก่ ปลา ผักใบเขียว แตงโม มะละกอ สังกะสี มีบทบาทช่วยสังเคราะห์โปรตีนและเนื้อเยื่อช่วยผลิตเซลล์ผิวใหม่และสมานแผล
แต่อาหารที่กล่าวมานั้น ควรเป็นอาหารที่อ่อน หรือนำไปทำให้สุก เพื่อที่ผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับประทานได้ง่าย และผู้เข้ารับการรักษาควรดื่มน้ำวันละ 6–8 แก้ว น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด หากขาดน้ำการไหลเวียนเลือดขาดประสิทธิภาพทำให้ออกซิเจนและสารอาหารลำเลียงไปยังบาดแผลไม่เต็มที่ บาดแผลที่รอซ่อมแซมสมานตัวช้า อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องใส่ใจเรื่องของสุขภาพช่องปากให้มากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรากฟันเทียมในอนาคต